ระบบกันสะเทือนรถยนต์ มีส่วนไหนบ้าง มีหน้าที่อะไร

0
1661

คุณทราบไหมคะว่า ระบบกันสะเทือนรถยนต์ (Suspension System) มีหน้าที่อะไร แล้วถ้าจะบอกว่าระบบกันสะเทือนมีหน้าที่รองรับน้ำหนักของตัวรถ เครื่องยนต์ ผู้โดยสาร สิ่งของ หรืออะไรก็ตามที่อยู่บนรถ และยังช่วยรองรับแรงสะเทือนจากถนน ทำให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมการเคลื่อนที่ได้ทุกสภาพถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชิ้นส่วนที่มีหน้าที่นี้โดยตรง คือ “สปริง” และโช๊คอัพ

ระบบกันสะเทือนรถยนต์

โช๊คอัพ ทำหน้าที่เป็นตัวหน่วงหรือลดการสั่นสะเทือนที่สปริงดูดซับมาจากการเต้นขึ้น-ลงของเสื้อเพลา ด้วยความหนืดของของเหลวเป็นตัวต้านทานการเต้นของสปริง ส่วน สปริง ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวรถไว้ด้านบนและรองรับน้ำหนักการกระแทกและการเต้นขึ้น-ลงของเสื้อเพลา เปลี่ยนเป็นคลื่นสั่นสะเทือน มีหน้าที่ชับแรงกระแทกจากถนนที่สู่โครงสร้างรถ โดยสปริงจะเด้งมากน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักของตัวรถ ปัจจุบันสปริงมีด้วยกัน 4 แบบ ได้แก่

  • Coil Spring เป็นสปริงที่เราคุ้นตากันอยู่ แม้แต่ในปากกาก็ยังมี สปริงจะถูกติดตั้งไว้กับโช๊คอัพ เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของล้อ
  • แหนบสปริง เป็นการใช้แผ่นเหล็กที่หลายแผ่นซ้อน ซึ่งมีความยืดหยุ่นต่างกันแทนตัวสปริง โดยจะจัดวางตามแนวขวางหรือแนวยาว แหนบจะสามารถรองรับการบรรทุกของหนัก หรือใช้งานสมบุกสมบันได้ดี ทนทาน จึงมักพบมากในรถกระบะ
  • ทอร์ชั่นบาร์ เป็นชิ้นส่วนที่เชื่อมต่อในระบบช่วงล่าง สามารถปรับความแข็งได้ แต่ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ เลือกการใช้ระบบสปริงดีกว่าและราคาย่อมเยาว์กว่า
  • ถุงลม มีหลักการทำงานที่อาศัยแรงดันอากาศเข้ามาควบคุมการซับแรงกระแทกที่เกิดขึ้น สามารถปรับรูปแบบได้ตามต้องการ จะแข็ง-อ่อน สูง-เตี้ย แต่มีราคาแพงจึงนิยมใช้กับรถราคาแพงๆ หรูๆ เท่านั้น

นอกจากโช๊คอัพและสปริงแล้ว ปัจจุบันการวิศวกรรมช่วงล่างพยายามลดแรงกระทำที่เกิดจากการโคลงของตัวรถ หรือที่เรียกว่า Body Roll เพื่อที่จะทำให้รถมีการเอนตัวในระหว่างเข้าโค้งน้อยที่สุด หลักการของกันโคลงส่วนใหญ่คือการถ่ายทอดแรงที่เกิดจากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งเพื่อให้เกิดสมดุลบาลานซ์ของช่วงล่างมากที่สุด

ระบบกันสะเทือนรถยนต์ มีด้วยกัน 2 ชนิด

1. ระบบกันสะเทือนแบบคานแข็ง (Rigid Suspension) เป็นระบบแบบเก่าที่พบได้กับรถขับเคลื่อนล้อหลัง จะมีเพลาหมุนต่อออกจากชุดเฟืองท้ายไปสู่ล้อซ้าย และล้อขวาโดยตรง โดยไม่ผ่านข้อต่ออ่อน ระบบนี้มีราคาถูก เพลาล้อจะ

2. ระบบกันสะเทือนแบบอิสระ ระบบจะแยกหน้าที่รองรับน้ำหนักและแรงสะเทือนระหว่างล้อซ้าย-ขวา ออกจากกัน เมื่อล้อใดล้อหนึ่งกระแทก แรงสะเทือนจะกระทำต่อล้อนั้นส่วนใหญ่ และส่งแรงไปยังตัวรถน้อยที่สุด ระบบนี้มีด้วยกัน 2 แบบ คือ

  • แบบปีกนกคู่ (Double Wishbone) มีส่วนประกอบคล้ายปีกนกอยู่ 2 ชิ้น ติดตั้งอยู่ด้านบน-ด้านล่าง สามารถซับแรงกระแทก แรงสั่นสะเทือนได้เป็นอย่างดี ระบบมีความซับซ้อนมาก ทำให้ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูง นิยมใช้กับรถหรู รถกระบะ และรถอเนกประสงค์ เนื่องจากให้สมรรถนะในการลุยสูง
  • แบบเมคเฟอร์สันสตรัท (MacPherson Strut) ได้รับการพัฒนาให้ง่ายกวาระบบปีกนกคู่ คือใช้แกนปีกนกด้านล่าง 1 แกน ส่วนด้านบนใช้ชุดสตรัท เพื่อรับแรงกระแทกจากพื้นถนนขึ้นมาที่ล้อ ต่อไปยังแกนปีกนกบน คอยสปริง โช๊คอัพ แต่ไม่ค่อยซับแรงสั่นสะเทือนสักเท่าไหร่ พบได้มากในรถอเนกประสงค์ และรถเก๋งทั่วๆไป

เนื่องจากสภาพถนนที่ไม่มีผิวไม่เรียบ เป็นหลุมเป็นบ่อ มีรอยต่อของคอนกรีตเป็นช่วง ด้วยความไม่สมบูรณ์แบบของผิวถนน ทำให้ระบบกันสะเทือนของรถมีความจำเป็นอย่างมาก รถที่มีระบบกันสั่นสะเทือนที่ดีไม่ว่าจะขับผ่านทางรูปแบบไหนก็จะยังให้ความรู้สึกนุ่มนวล ไม่รู้สึกว่าตัวรถโคลง ไม่ยวบยาบ ไม่หัวสั่นหัวคอน แต่กลับรู้สึกนุ่มนวล ซึ่งเรามักจะพบระบบกันสั่นสะเทือนระดับพรีเมียมกับรถหรู อย่าง เมอร์เซเดส-เบนซ์

ระบบกันสะเทือนรถยนต์ นั้นสำคัญหมั่นควรเช็คอยู่เป็นประจำ หากพบอาการผิดปกติให้รีบนำรถเข้าตรวจเสียแต่เนิ่นๆ จะได้แก้ไขได้ทัน ค่าใช้จ่ายอาจจะยังไม่สูงนัก แต่ปล่อยไว้อาจต้องจ่ายแพงขึ้นนะคะ

เพิ่มเติม: กันโคลงหรืออุปกรณ์ช่วยส่งเสริมช่วงล่าง เหมือนเป็นอาหารเสริมของรถยนต์ เหมือนอาหารเสริมที่คนเราต้องกิน มันช่วยเสริมสมรรถณะของช่วงล่างของรถคันนั้นๆให้ดีมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ช่วยทำให้โช๊ค บูชแหนบ และอื่นๆในช่วงล่างมีอายุที่ยาวนานขึ้น วิ่งได้นานโดยไม่เสียอาการ

Previous articleกรณีศึกษา การเปิดเสรีการใช้กัญชาในกรุงวอชิงตัน และรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา
Next articleการเลือกซื้ออาหารแห้ง เลือกอย่างไรให้ถูกวิธีและปลอดภัย