รู้จักยาแก้ภูมิแพ้ ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamines)

0
1360

โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีอัตราการเป็นภูมิแพ้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ การรักษาโรคภูมิแพ้เป็นการรักษาที่ต่อเนื่อง มีความจำเป็นต้องพึ่งยาเพื่อบรรเทาอาการแพ้ให้ดีขึ้น เราจะพบว่ามียาหลายประเภทที่ช่วยในเรื่องของโรคภูมิแพ้ได้ ก่อนจะทาน ยาแก้ภูมิแพ้ เรามาทำความรู้จักกับยาให้ดีขึ้นอีกหน่อยกันคะ

ยาแก้ภูมิแพ้
ยาแก้ภูมิแพ้ ที่นิยมใช้เป็นอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ คือ ยาต้านฮีสตามีน (ยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูก) (Antihistamines) เป็นยาที่มีโครงสร้างคล้ายสารฮีสตามีน ยาชนิดนี้จะเข้าไปจับกับตัวรับสารฮีสตามีนที่อยู่ในร่างกายของเรา แทนตัวสารฮีสตามีน จึงทำให้สารฮีตามีนไม่สามารถไปจับกับตัวรับมันได้ จึงไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น

เราสามารถแบ่งยาต้านฮีสตามีนได้เป็น 2 กลุ่ม

1. ยาต้านฮีสตามีนแบบง่วง ซึ่งมีคุณสมบัติต้านโคลิเนอร์จิก ทำให้ปริมาณสารคัดหลั่ง อย่าง น้ำมูก เสมหะ ลดน้อยลง แต่ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ เช่น คอแห้ง โพรงจมูกแห้ง ท้องผูก ใจสั่น และในกรณีผู้ใช้ยาเป็นโรคต้อหินอยู่แล้ว จะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นได้ ยาต้านฮีสตามีนแบบง่วงนั้น จะทำให้เกิดอาการง่วงนอน ซึม ไม่สดชี่อ หรือตอบสนองกับสิ่งเร้าได้ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากยาจะเข้าไปยังสมอง แล้วจับตัวรับฮีสตามีนในสมอง มีผลกดประสาทนั้นเอง แพทย์มักแนะนำให้ทานยาก่อนเข้านอน จะช่วยให้หลับสบาย พักผ่อนได้เต็มที่ ก็จะทำให้ระบบภูมิคุ้นกันดีขึ้น ร่างกายแข็งแรง ส่งผลให้อาการของโรคดีขึ้นและหายเร็วขึ้น และไม่ควรทานหากต้องขับรถ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ สูญเสียทรัพย์สินและอันตรายต่อชีวิตได้ ยาชนิดนี้จะออกฤทธิ์นาน 5-6 ชั่วโมง และจะออกฤทธิ์ภายใน 15-30 นาทีหลังจากทานยาเข้าไป นอกจากนี้ยาชนิดนี้ถูกนำไปใช้ลดน้ำมูกในผู้ป่วยที่เป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่อีกด้วย

2. ยาต้านฮีสตามีนแบบไม่ง่วง (Non-sedate Antihistamines) ยาชนิดนี้จะไม่เข้าไปกดประสาท จึงไม่ทำให้ผู้ที่รับประทานยามีอาการง่วง สามารถรับประทานได้ตลอดเวลาแม้แต่เวลากลางวัน ก็จะไม่มีอาการง่วงนอน สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ จึงเป็นที่นิยมของผู้ใช้ยา แต่ราคาอาจจะสูงกว่ายาชนิดง่วงนอน และไม่มีฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิก ยาชนิดนี้จะออกฤทธิ์ช้ากว่ายากลุ่มแรก คือประมาณ 1-2 วัน หลังจากรับประทานยา (อาจมียาบางตัวอย่าง ฟีโซฟีนาดีน จะออกฤทธิ์ภายใน 1-2 ชั่วโมง) และออกฤทธิ์ยาวนานกว่า 12 ชั่วโมงหรือเป็นวันๆ ยาต้านฮีสตามีนแบบไม่ง่วงนอนนั้นจะมีผลข้างเคียวงน้อยกว่ากลุ่มยาชนิดแรก ในกรณีที่ใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคหืดหอบ แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้ เพราะจะไม่ทำให้เสมหะ น้ำมูกเหนียวข้น หรือ แห้ง เกาะอยู่ตามผนังทางเดินหายใจ

ยาในกลุ่มต้านฮีสตามีน ได้แก่ ยาไดเฟนไฮดรามีน ไดเมนไฮดริเนต คลอร์เฟนิรามีน บรอมเฟนามีน ลอราทาดีน เซติไรซีน และ ฟีโซฟีนาดีน เป็นต้น ยาต้านฮีสตามีนทุกกลุ่มจะมีฤทธิ์เสริมกับแอลกฮอร์ ยากดระบบประสาท เนื่องจากโรคภูมิแพ้เป็นโรคเรื้อรัง เป็นๆหายๆ จึงต้องทานยาต้านฮีสตามีนชนิดเดียวกันต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการดื้อยา จนต้องใช้ยาในปริมาณที่เพิ่มขึ้นถึงจะได้ผลดีเหมือนเดิม ดังนั้นควรเปลี่ยนชนิดของยาใหม่ภายใน 1-2 เดือน แล้วค่อยกลับมาใช้ยาตัวเดิมที่เคยใช้ เพื่อลดอาการดื้อยา

โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่ต้องรักษากันเป็นระยะเวลานานจึงจำเป็นต้องทานยาตลอด ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามวิธีการใช้ยาที่ระบุไว้หรือตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อประสิทธิผลที่ดี อย่างไรก็ตามยารักษาอาการภุมิแพ้เหล่านี้เป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้น ตราบใดที่เรายังไม่สามารถหาปัจจัยที่ทำให้เราเกิดโรคได้ แล้วแก้ไขที่สาเหตุนั้นๆ ก็คงต้องทานยากันต่อไปเรื่อยๆคะ คงไม่ดีเท่าไหร่นัก..จริงไหมคะ

Previous articleเห็ดหลินจือ สรรพคุณเป็นสมุนไพรรักษาโรคไต
Next articleโรครูมาตอยด์ การอักเสบเรื้อรังของเยื่อหุ้มข้อ