การสือสารด้วย เส้นใยนำแสง เป็นอย่างไร

0
2584

เส้นใยนำแสง คืออะไร ด้วยความสามารถของมนุษย์ในการประดิษฐ์คิดค้นทำให้มีอุปกรณ์สื่อสารที่เรียกว่า เส้นใยนำแสง ทำให้แสงเดินทางในท่อที่คดเคี้ยว และเมื่อทำเป็นเส้นจึงดูคล้ายสายไฟที่แสงเดินลอดผ่านจากปลายข้างหนึ่งไปยังปลายอีกข้างหนึ่งได้ การปฏิบัติการส่งสัญญาณข้อมูลจึงเริ่มเปลี่ยนรูปแบบจากการใช้ไฟฟ้ามาเป็นแสงการที่แสงเดินทางผ่านไปในท่อได้อาศัยหลักการสะท้อนกลับหมด กล่าวคือเมื่อแสงเดินทางจากปลายข้างหนึ่งจะสะท้อนบริเวณขอบกลับหมดไปชนกับขอบอีกด้านหนึ่งสลับไปมาการกระทำนี้จะทำให้ทางไปในท่อที่คดเคี้ยวได้

เส้นใยนำแสง

เส้นใยนำแสง ประกอบด้วยส่วนแรกคือเส้นใยที่ทำจากใยแก้วซึ่งเป็นแกนกลางทำให้แสงหักเหได้ ใยแก้วนี้มีชั้นห่อหุ้มซึ่งทำหน้าที่รักษาความเที่ยงตรงของลำแสงในขณะที่เดินทางผ่านเส้นใยที่คดเคี้ยว และส่วนที่สองคือตัวโครงสร้างเส้นใยแก้วซึ่งจะหุ้มด้วยพลาสติกและเส้นใยเหนียวยืดหยุ่น เพื่อป้องกันความเสียหายจากการแตกหักภายใน เมื่อประกอบเป็นสายนำสัญญาณจะใช้เส้นใยนำแสงหลายเส้นรวมกันอยู่ในท่อพลาสติกเดียวกัน มีจำนวนตั้งแต่ 4 เส้นขึ้นไป บางชนิดมีมากกว่า 24 เส้น

ในการใช้งานจะต้องมีตัวส่งสัญญาณและตัวรับสัญญาณ ข้อมูลจะได้รับการแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าก่อน จากนั้นจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณแสง อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งแสงที่นิยมใช้กันได้แก่ ไดโอดเปล่งแสง (Light Emitting Diode :LED) ส่วนรับสัญญาณที่นิยมใช้ได้แก่ โฟโตไดโอด (photo diode) การแปลงข้อมูลจะใช้วิธีแบบความถี่

ข้อเด่นของการสื่อสารข้อมูลด้วยเส้นใยนำแสงมีมากมาย แสงที่ใช้สื่อสารจะมีแกนกว้างทำให้ทางความถี่มาก ความถี่สัญญาณอยู่ในช่วง 1-10 จิกะเฮิรทซ์ จึงทำให้แบ่งช่องสัญญาณข้อมูลหรือเสียงได้มาก เส้นใยนำแสงหนึ่งเส้นอาจมใช้ส่งสัญญาณโทรศัพท์ได้หลายพันคู่สาย มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาสามารถบิดโค้งงอในขณะเดินสายโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูล มีการสูญเสียต่ำปราศจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความทนทานต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทนทานต่อปฏิกิริยาทางเคมี การสื่อสารจะบริสุทธิ์ไม่ส่งสัญญาณรบกวนสิ่งรอบข้าง

นอกจากนี้ยังสามารถวางเส้นใยนำเป็นสายเคเบิลควบคู่ไปกับสายไฟฟ้าแรงสูงโดยที่สนามแม่เหล็กของไฟฟ้าแรงสูงไม่สามารถรบกวนได้เลย สามารถวางเส้นใยนำแสงใต้ดิน ในอุโมงค์ ใต้ท้องทะเล ลอดใต้แม่น้ำ การประยุกต์จึงกว้างขว้าง เช่น ใช้งานด้านเคเบิลทีวี ใช้งานการสื่อสารควบคุมการจราจรของรถไฟ รถยนต์ ใช้ควบคุมในงานอุตสาหกรรม ใช้เชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูลภายในอาคารสำนักงาน ใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบโทรศัพท์ การใช้เส้นใยนำแสงยังเหมาะกับการสื่อสารในบริเวณที่เกิดอันตรายได้ง่าย เช่น ใช้เชื้อเพลิงเพราะไม่มีอันตรายจากกระแสไฟฟ้า

จากการที่ เส้นใยนำแสง มีข้อดีมากมาย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงเริ่มดำเนินการวางสายเส้นใยนำแสงเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์แทนไมโครเวฟ องค์การระหว่างประเทศทางด้านการสื่อสารได้ดำเนินการวางเส้นใยนำแสงเป็นเคเบิลใต้น้ำเพื่อเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างประเทศ การใช้งานสายนำสัญญาณด้วยเส้นใยนำแสงจะต้องเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต

Previous articleวิธีทำให้ผิวขาว โดย การขัดผิว (Exfoliating)
Next articleความปลอดภัยของข้อมูล ในฐานข้อมูล