มือ จัดเป็นอวัยวะถูกใช้งานมากในร่างกาย และใช้งานอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าจะถูกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน แต่เรามักจะไม่ดูแลรักษามือ ปล่อยให้เสื่อมตามสภาพ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ที่ทำให้มือเราใช้งานได้ไม่เหมือนเดิม
โรคมือที่มักพบบ่อย
มือถูกใช้งานอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องเจอกับภาวะเสื่อมที่รวดเร็ว จึงทำให้เกิดโรคต่างๆ โรคที่พบบ่อยได้แก่
1.โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (De quervain’s disease)
สาเหตุ: เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณโคน พบได้บ่อยในกลุ่มคนที่นั่งพิมพ์งานคอมพิวเตอร์ หรือผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟน
อาการ : อาการเจ็บแปลบข้อมือเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อมือ หรือโดยเฉพาะเมื่อขยับนิ้วหัวแม่มือ หากมีการอักเสบมากจะมีอาการบวม แดง ปวดร้าวจากข้อมือมาถึงข้อศอก
การรักษา : สามารถประคบเย็นเพื่อลดการบวมและการอักเสบ การรักษาทางกายภาพบำบัด เช่น การรักษาด้วยเลเซอร์ อัตราซาวน์ ถ้าอาการยังไม่ทุเลาแพทย์จะแนะนำฉีดยาสเตียรอยด์หรือ ผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นต่อไป
2. นิ้วล็อค (Trigger finger)
สาเหตุ : เกิดจากการงอนิ้วมือมาก ๆ กำมือแน่นมาก ๆ เกร็งนิ้วบ่อย ๆ เช่น บิดผ้า ใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ หิ้วของหนัก จนเกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่นิ้วมือ
การรักษา : ใช้ยาต้านอักเสบที่ควบคู่ไปด้วย อัลตราซาวน์ การกดคลายบริเวณที่เกิดพังผืดเบา หากสุดท้ายอาการไม่หายขาด แพทย์อาจจะพิจารณาทำการผ่าตัด
3. หมอนรองกระดูกข้อมือฉีกขาด (The triangular fibrocartilage complex: TFCC)
สาเหตุ : เกิดจากการบาดเจ็บและอักเสบของโครงสร้างเนื้อเยื่อ เส้นเอ็น และกระดูกบริเวณข้อมือ จากแรงกระแทก เช่น หกล้มมือยันพื้น การตีกอล์ฟ ทำให้เกิดการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ
อาการ : ปวดบริเวณข้อมือทางด้านนิ้วก้อย ขณะบิดหมุนมือหรืออยู่นิ่ง ความแข็งแรงของแรงของการบีบมือลดลง มีอาการบวมบริเวณข้อมือด้านนิ้วก้อย
การรักษา : ประคบอุ่น/เย็น ทำอัลตราซาวน์ ใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงข้อมือ เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น
4. พังพืดกดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome)
สาเหตุ : เกิดจากการเสียดสีของเอ็นของข้อมือกับเอ็นกล้ามเนื้อภายในโพรงข้อมือ จากการงอ-เหยียดหรือกำมือติดต่อกันเป็นเวลานานจนเกิดการอักเสบ และหนาตัวขึ้นของเส้นเอ็นและกดทับเส้นประสาทของมือ
อาการ : ปวด ชา บริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว รวมถึงกล้ามเนื้อมืออ่อนแรงได้
การรักษา : การประคบเย็น 15-20 นาที ร่วมกับการ อัลตราซาวด์ หากอาการยังไม่ทุเลาลง แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดพังผืดบริเวณข้อมือด้านหน้า
มือเป็นอวัยวะที่สำคัญมากๆ อย่าใช้มือมากจะเกินไปหรือฝืดกำลัง จะทำให้เกิดการอักเสบและตามมาด้วยการอักเสบ สุดท้ายอาจจะทำให้มือใช้งานได้ไม่ดีเหมือนเดิม