ริดสีดวง (Hemorrhoids หรือ Piles) เป็นภาวะที่หลอดเลือดดำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ในบริเวณทวารหนักเกิดการปูดบวมออกมา โรคที่คนเราไม่ว่าจะช่วงอายุไหนก็สามารถเป็นได้ เกิดได้จากการรับประทานอาหารที่มากากใยน้อย มีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง และพฤติกรรมในการใช้ห้องน้ำที่ไม่ถูกสุขลักษณะ โดยจะสังเกตอาการได้จากมีติ่งเนื้อบริเวณรอบทวารหนัก และมีการปริแตกของผนังหลอดเลือดในขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ จึงทำให้มีเลือดออกเป็นครั้งคราว และสร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิตได้พอสมควร วันนี้เราจะมาหา วิธีรักษาริดสีดวง กันคะ
ชนิดของโรคริดสีดวงทวาร
โรคริดสีดวงทวารแบบภายนอก (External hemorrhoids)
จะปกคลุมไปด้วยชั้นผิวหนัง เกิดขึ้นในบริเวณใต้แนวเส้นประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดมาเลี้ยง เรียกว่า ปากทวารหนัก (Anal margin) เมื่อเบาะรองจากบริเวณรูทวารหนักเลื่อนตัวลงมาเรื่อย ๆ จนถึงปากทวารหนัก เบียดออกไปด้านข้างจนกลายเป็นก้อนนูนที่ปากทวารหนัก
โรคริดสีดวงทวารแบบภายใน (Internal hemorrhoids)
จะปกคลุมด้วยเยื่อบุลำไส้ เกิดขึ้นในบริเวณเหนือแนวเส้นประสาท หรือ รูทวารหนัก ซึ่งจะไม่มีเส้นประสาทรับความเจ็บปวดมาเลี้ยงที่ผนังของรูทวารหนักปกติ ผู้เป็นริดสีดวงแบบนี้จึงมักไม่มีอาการเจ็บปวด และผู้ที่เป็นส่วนใหญ่ก็มักไม่ให้ความสนใจแม้จะรู้ตัวว่าเป็น
การรักษาริดสีดวงมีหลายวิธี หากไม่ได้เป็นหนักมาก และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก ก็จะใช้วิธีการรักษาดังนี้
- ยาเหน็บรักษาริดสีดวง สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป ข้อดีของการใช้ยาเหน็บจะช่วยรักษาริดสีดวงได้โดยตรง ในตัวยาจะมียาชาช่วยระงับความเจ็บปวด และยาบางชนิดจะผสมสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบเข้าไปด้วย
- ฉีดยาเข้าหัวริดสีดวงโดยตรง ตัวยาจะทำให้หลอดเลือดดำฝ่อ ริดสีดวงจะค่อยๆยุบลงไป ไม่สร้างความเจ็บปวดใดๆทั้งสิ้น สะดวก ปลอดภัยในการรักษา โดยแพทย์จะนัดฉีดสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง มีโอกาสหายสูงถึง 70%
- ใช้ยางรัด การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับริดสีดวงที่มีหัวริดสีดวงขนาดใหญ่และไม่สร้างอาการเจ็บปวดต่อตัวผู้ป่วย โดยการรัดยางตรงโคนของหัวริดสีดวงเป็นเวลา 5-7 วัน ซึ่งจะทำให้ริดสีดวงนั้นฝ่อและหลุดออกไปเอง
- ใช้ว่านหางจระเข้ มีคุณสมบัติในการรักษาริดสีดวง นำว่านหางจระเข้มาปอกเปลือกเอาแต่วุ้นใสข้างใน ใช้เหน็บวันละ 1-2 ครั้งจนกว่าจะหาย
วิธีป้องกันโรคริดสีดวงทวาร
- การรับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูงๆ ทำให้อุจจาระไม่แข็งและผ่านไปได้โดยง่าย อย่าให้ท้องผูก
- ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
- เข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา ไม่กลั้นอุจจาระ
- หลีกเลี่ยงการนั่งเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นเวลานานๆ
- ระวังอย่าให้เกิดอาการท้องเดิน ท้องร่วง หรือท้องเสียบ่อย ๆ
- ผู้ที่อ้วน มีน้ำหนักตัวมาก ควรหาวิธีลดความอ้วนอย่างเหมาะสม และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- ออกกำลังกายบ่อยๆพยายามเคลื่อนไหวร่างกาย หากิจกรรมทำอยู่เสมอ
แต่ถ้าอาการของ ริดสีดวงหนัก และรบกวนการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางการแพทย์มาก หลังจากการผ่าตัดจะปวดแผลน้อยมาก และไม่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายวันเหมือนในอดีต ที่สำคัญผู้ป่วยตัวดูแลรักษาสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ไม่นั่งเบ่งอุจจาระเป็นเวลานาน เลิกพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆจะเป็นผลดีในการรักษามากขึ้น
ข้อมูลวิธีรักษาริดสีดวงอื่นๆ
โรคริดสีดวงทวาร : th.wikipedia.org
การรักษาอาการคันก้น : skinanswer.org