อินซูลิน (Insulin) มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร

0
1262

อินซูลิน คือ อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ตับอ่อนสร้างขึ้น มีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เพื่อสร้างเป็นพลังงาน อินซูลินนั้นนอกจากตับอ่อนเป็นผู้ผลิตแล้ว ยังสามารถสกัดจากตับอ่อนของหมูและวัว และการสังเคราะห์โดยวิธีพันธุกรรม สร้างอินซูลินที่เหมือนกับอินซูลินของมนุษย์ ซึ่งมีโอกาสแพ้น้อยกว่าและนิยมมากกว่าอินซูลินที่มาจากสัตว์

อินซูลิน

อินซูลิน สามารถแบ่งได้หลายชนิด ตามระยะเวลาที่ออกฤทธิ์ คือ

  • ชนิดออกฤทธิ์เร็วมาก มีลักษณะใส ไม่มีสี ออกฤทธิ์ในเวลา 10-15 นาที ออกฤทธิ์สูงสุดที่ 1-3 ชั่วโมง และออกฤทธิ์นาน 3-5 ชั่วโมง ใช้ฉีดเมื่อต้องการลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารมื้อนั้นๆ
  • ชนิดออกฤทธิ์เร็วและสั้น มีลักษณะใส ไม่มีสี ออกฤทธิ์ในเวลา 30-60 นาที ออกฤทธิ์สูงสุดที่ 2- 4 ชั่วโมง และออกฤทธิ์นานประมาณ 5-7 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะใช้ฉีดก่อนรับประทานอาหาร 30 นาที เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลหลังอาหารหรือเพื่อลดน้ำตาลในเลือดให้ลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีระดับน้ำตาลที่สูงมากๆ
  • ชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง ลักษณะเป็นสารละลายขุ่น ต้องเขย่าก่อนใช้เพื่อให้เข้ากัน ออกฤทธิ์ในเวลา 2-4 ชั่วโมง ออกฤทธิ์สูงสุดวที่ 6-12 ชั่วโมง และออกฤทธิ์นานประมาณ 18-24 ชั่วโมง ใช้เป็นอินซูลินหลักในการรักษาโรคเบาหวาน
  • ชนิดออกฤทธิ์ยาว มีลักษณะใส ไม่มีสี ออกฤทธิ์ในเวลา 2ชั่วโมง ไม่มีระยะที่ออกฤทธิ์สูงสุด และออกฤทธิ์นาน 25 ชั่วโมง ใช้สำหรับฉีดเพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นในปริมาณหนึ่งตลอดทั้งวัน และป้องกันระดับน้ำตาลตก
  • ชนิดผสม ลักษณะเป็นสีขุ่น เป็นผสมระหว่างอินซูลินออกฤทธิ์เร็วกับอินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง ในอัตราส่วนต่างๆ ต้องก่อนใช้ทุกครั้ง

อาการที่เกิดจากปริมาณของอินซูลินไม่สมดุลกับน้ำตาล ในกรณีที่น้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากมีการใช้อินซูลินมากเกินไป อาจทำให้ปวดศีรษะ เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น อ่อนเพลีย ชาริมฝีปาก หงุดหงิด การมองไม่ชัดเจน และในกรณีที่น้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากปริมาณอินซูลินน้อยเกินไป อาจมีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ มึนงง ถ้าหากเป็นลมควรนำส่งแพทย์ทันที

สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องฉีดอินซูลินทุกวัน มักมีความกังวลใจในการพกพาอินซูลินว่าต้องใส่ในน้ำแข็งตลอดเวลา จริงๆแล้ว อินซูลินที่ยังไม่ได้เปิดใช้ หากเราเก็บไว้ที่ๆมีอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานเท่ากับอายุที่ระบุไว้ข้างขวด แต่ถ้าเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องหรือประมาณ 25 องศาเซลเซียลก็จะเก็บไว้ได้นาน 1 เดือน ส่วนอินซูลินที่เปิดใช้แล้วและเก็บอยู่ในปากกาฉีดอินซูลินสามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้นาน 30 วันเช่นกัน ส่วนอินซูลินแบบขวดที่เปิดใช้แล้วและเก็บไว้ในอุณหภูมิ2-8 องศาเซลเซียสจะเก็บได้นาน 3 เดือน นับจากวันเปิดขวด และเก็บได้นาน 30 วันหากเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องนะคะ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องนำไปแช่ในช่องแข็ง และไม่ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิสูงๆ อาจทำให้ยาเสื่อมคุณภาพและไม่ควรนำมาใช้ แม้แต่การเก็บอินซูลินไว้บริเวรฝาตู้เย็นก็ไม่ควรกระทำเนื่องจากมีอุณหภูมิที่ไม่คงที่

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกาย บ้างก็ฉีดบริเวณ หน้าท้อง หน้าขาทั้ง 2 ข้าง สะโพก ต้นแขนทั้ง 2 ข้าง ก่อนจะทำการฉีดก็ควรเช็ดบริเวณนั้นให้สะอาดด้วยแอลกอฮอร์ และเมื่อดึงเข็มออกมาก็ให้ใช้สำลีกดเบาๆ ห้ามคลึงนะคะ เพราะอาจทำให้ยาถูกดูดซึมเร็วเกินไป ทำให้น้ำตาลตกได้คะ การฉีดอินซูลินไม่ควรฉีดซ้ำที่เดิมมากกว่า 1 ครั้งในระยะเวลา 1-2 เดือน ควรฉีดห่างจากจุดเดิมประมาณ 1นิ้ว เพี่อป้องกันการเกิดก้อนไตบริเวณที่ฉีดคะ

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือไปใช้เป็นพลังงานได้เต็มที่เนื่องจากขาดอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เกิดโรคแทรกซ้อน อย่าง โรคติดเชื้อเป็นแผลหายยาก โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคตา อินซูลินจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนะคะ

อย่ารอให้ร่างกายเราไม่สามารถผลิต อินซูลิน ได้ หันมาใส่ใจดูแลร่างกายของเราเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตับอ่อนแหล่งให้กำเนิดอินซูลินตามธรรมชาติ จะได้ไม่ต้องหาอินซูลินจากนอกร่างกายมาทดแทน…นะคะ

Previous articleเข้าใจ โรคเอดส์ (AIDS) อาการและการป้องกัน
Next articleสมุนไพรอบเชย ช่วยลดน้ำตาล รักษาเบาหวาน