เข้าใจ โรคเอดส์ (AIDS) อาการและการป้องกัน

0
1183

หากเราย้อนกับไปเมื่อราวปี พ.ศ.2527 เป็นช่วงที่ โรคเอดส์ ระบาดอย่างมากในประเทศไทยโดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชาย และกระจายสู่ผู้หญิงบริการ ผู้ติดยาเสพติด

โรคเอดส์

โรคเอดส์ (AIDS) เกิดจากเชื้อเอชไอวี (HIV) ที่แบ่งตัวในเซลล์ของคนเช่น เม็ดเลือดขาว เซลล์สมอง เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสก็จะสร้างภูมิคุ้มต้านทานออกมา แต่ก็ไม่สามารถกำจัดเชื้อไปได้หมด ทำให้เชื้อเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานลดลง เชื้อไวรัสเอชไอวีพบมาที่สุดในเม็ดเลือดขาว ด้วยเหตุนี้เองทำให้เลือดของผู้ติดเชื้อจะมีปริมาณของเชื้อสูงที่สุด

ลักษณะอาการของโรคเอดส์ มักมีอาการหลายรูปแบบเนื่องจากเชื้อไวรัสทำลายภูมิต้านทานร่างกาย

  • ระยะเบื้องต้น คือภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากรับเชื้อ อาจมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด ต่อมน้ำเหลืองโต มีผื่น แล้วก็จะหายไปเอง ทำให้ผู้ป่วยไม่คิดอะไร นึกว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา
  • ระยะที่สอง คือระยะที่เริ่มมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ เป็นช่วงที่ยังไม่เป็นโรคเอดศ์เต็มขั้น จะมีอาการไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด ท้องเสียเรื้อรัง และอาจมีเชื้อราในช่องปาก เริมในช่องปาก/อวัยวะเพศ
  • ระยะสุดท้าย ที่เรียกว่าโรคเอดส์ เป็นระยะที่ภูมิต้านทานของร่างกายเสียไปมากแล้ว มีการติดเชื้อจากโรคฉวยโอกาส อาจมีอาการทางประสาท ชักกระตุก แขนขาชา เป็นอัมพาตครึ่งทอน ผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 2-4 ปี หลังจากเป็นโรคเอดส์ระยะสุดท้ายคะ

โรคติดเชื้อฉวยโอกาสเป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่ วัณโรค (ผู้ป่วยมีความเสี่ยงถึงร้อยละ 50 ที่จะเป็นวัณโรคเมื่อเทียบกับคนปกติที่มีความเสี่ยงเพียงร้อยละ 5-10 วัณโรคทำให้ไวรัสเอชไอวีเพิ่มจำนวนมากขึ้นส่งผลให้การดำเนินของโรคไปเป็นโรคเอดส์เร็วขึ้นและเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตผู้ติดเชื้อเอชไอวี มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งทวารหนัก

โรคเอดส์สามารถติดต่อกันได้จากการมีเพศสัมพันธ์ ประมาณ 84 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเพศใดกับเพศใดก็ตาม ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีสูง และหากมีแผลเปิดก็จะยิ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากยิ่งขึ้น การได้รับเชื้อทางเลือด ไม่ว่าจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ มักพบในกลุ่มผู้ติดยาเสพติด และจากรับบริจาคเลือด ซึ่งในปัจจุบันนี้เลือดที่ได้รับบริจาคจะได้ผ่านการตรวจสอบว่าปลอดเชื้อเอชไอวีทุกครั้ง และการแพร่เชื้อเอชไอวีที่พบได้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ คือการแพร่จากมารดาสู่ลูก

กลุ่มคนที่ควรจะเข้ารับการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่

  1. ผู้ที่มีอาการที่แสดงเข้าได้กับการติดเชื้อเอชไอวี
  2. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ทั้งเพศสัมพันธ์ที่เกิดระหว่าง ชาย-หญิง ชาย-ชาย และหญิง-หญิง
  3. ผู้ป่วยวัณโรค
  4. ผู้ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพัน
  5. ผู้ใช้สารเสพติดด้วยการฉีดยาเข้าเส้นและใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  6. หญิงตั้งครรภ์และสามี
  7. ทารกที่เกิดจากมารดาติดเชื้อเอชไอวี
  8. บุคลากรทางแพทย์ที่เกิดอุบัติเหตุที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
  9. ผู้ถูกละเมิดทางเพศ
  10. ผู้ที่ต้องการตรวจเลือดก่อนแต่งงา หรือวางแผนที่จะมีบุตร

ถึงแม้จะยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายได้ มีเพียงยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสเอดส์ ได้แก่

1. ยาต้านไวรัสเอดส์ สำหรับการรับประทานยาต้านทำให้ผู้ติดเชื้อมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ยาต้านไวรัสบางกลุ่ม มีผลข้างเคียงทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น มีภาวะดื้ออินซูลินและความดันโลหิตสูง

2. ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส หากผู้ป่วยเอดส์มีภูมิต้านทานลดลงมาก จะมีโอกาสติดโรคฉวยโอกาสได้เพิ่มมากขึ้น

โรคเอดส์ เป็นโรคที่ร้ายแรง เราควรใส่ใจกับตัวเอง หากมีอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงก็ควรตรวจสอบตัวเองว่าได้รับเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ถ้ามีเชื้อจะได้เข้ารับการรักษาเสียแต่เนิ่นๆ และผู้ที่ติดเชื้อจะได้ไม่แพร่กระจายเชื้อให้กับผู้อื่นโดยไม่ตั้งใจเพราะไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้อเอชไอวีอยู่ ทำให้สามารถช่วยลดจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์ได้อีกด้วยนะคะ … กลัวหมอ อายหมอ โรคก็ไม่หายนะคะ

ข้อมูลอ้างอิง

แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์ – thaiaidssociety.org
ความรู้เรื่องโรคเอดส์ – thaiall.com/aids/
โรคเอดส์เกิดจากเชื้ออะไร – aidsthai.org
โรคเอดส์รักษาให้หายได้หรือไม่ – aidsthai.org
ไวรัสเอดส์ทำให้เกิดโรได้อย่างไร – helpaids.worldmedic.com

Previous articleเห็ดเข็มทอง สรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก ลดความอ้วน
Next articleอินซูลิน (Insulin) มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร