โรคพาร์กินสัน โรคสั่นที่โบราณเรียกสันนิบาติลูกนก

0
1049

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease: PD)หรือที่คนโบราณเรียกกันว่า โรคสันนิบาติลูกนก โรคพาร์กินสันเป็นโรคสั่นประเภทหนึ่งที่เกิดจากความเสื่อมของสมองและระบบประสาทที่พบได้บ่อยรองจากโรคอัลไซเมอร์ มีผู้ป่วยทั่วโลกร้อยละ 1 สำหรับประเทศไทยอยู่ที่ 425 คน ต่อประชากร 100,000 คน

โรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสัน เกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมองที่มีหน้าที่สร้างสารสื่อประสาท โดปามีน มีหน้าที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ผู้ป่วยด้วยโรคนี้จึงมีปัญหาต่อการเคลื่อนไหวร่างกายคะ มักพบในช่วงอายุเฉลี่ยที่ 55-60 ปี ส่วนผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี จะเรียกว่า (YOPD Young-onset Parkinson’ disease)

โรคพาร์กินสันไม่ใช่โรคที่เกิดเฉียบพลัน แต่มีการดำเนินของโรคมาอย่างน้อย 4-10 ปี แล้ว ก่อนที่จะมีอาการผิดปกติแสดงออกมา ผู้ป่วยอาจจะมีภาวะความเสื่อมของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้กลิ่นและก้านสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติของลำไส้ การนอนและอารมณ์ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการท้องผูก การรับได้กลิ่นลดลง มีอารมณ์ปวนแปร เช่น ย้ำคิดย้ำทำ ซึมเศร้า วิตกกังวล ร้องตะโกน ซึ่งเป็นอาการที่ดำเนินมาเรื่อยๆ จนมีอาการของโรคที่ชัดเจน ขึ้น เช่น สั่นของมือและแขนเมื่ออยู่เฉยๆ การเคลื่อนไหวช้าและต้องใช้ระยะเวลาในการเริ่มการเคลื่อนไหวร่างกายนานขึ้น อาการแข็งเกร็งซึ่งมักเกิดขึ้นกับแขน-ขาข้างเดียวกับที่มีอาการสั่น ส่งผลให้ตัวหนังสือที่เขียนเล็กลงและชิดติดกัน และการทรงตัวไม่ดีมักมีการเดินซอยเท้าถี่ๆ โน้มตัวไปข้างหน้าและเดินไม่แก่วงแขน เป็นต้น

สำหรับการรักษาอาการของโรคนี้ ในระยะแรกและระยะกลางจะเป็นการรักษาด้วยยา ซึ่งจะเป็นยาที่ไปออกฤทธิ์คล้ายหรือกระตุ้น หรือยับยั้งการทำลาย สารสื่อประสาทต่างๆ เช่น โดพามีน โคลีน อดรีนาลีน ซีโรโทนิน เมื่อโรคมาถึงระยะสุดท้าย เซลล์สมองตายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย อาจจะต้องใช้วิธีการผ่าตัดฝังตัวกระตุ้นสมองส่วนลึก การให้ยากระตุ้นตัวรับโดพามีนอย่างต่อเนื่องทางผิวหนังหรือทางลำไส้

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน การออกกำลังกายจะช่วยลดอาการเกร็ง เพิ่มความยืดหยุ่นแก่ร่างกาย กระตุ้นการทำงานของระบบหัวใจ ปอด หลอดเลือดและระบบสมอง การจัดโปรแกรมการออกกำลังกายนั้นควรมีความหลากหลาย เพื่อเป็นการออกกำลังในทุกๆส่วนของร่างกายหรือในส่วนที่ผู้ป่วยมีปัญหา

การออกกำลังกายที่เพิ่มทักษะการเรียนรู้และส่งเสริมสมาธิ ได้แก่การเต้นรำ การฝึกโยคะ การเต้นอารบิก การออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานระบบหัวใจและปอด ได้แก่ การเดินสายพานเร็วๆและลาดชัน การปืนเขาโดยใช้ไม้ค้ำ การว่ายน้ำ ส่วนการออกกำลังกายที่ไม่ได้ช่วยเพิ่มทักษะการเคลื่อนไหว ได้แก่ การปั่นจักรยานอยู่กับที่ การยกน้ำหนัก การเดินสายพานอย่างช้าๆ เป็นต้น มีงานวิจัยพบว่าการออกกำลังกายด้วยการรำไทเก็ก เป็นการช่วยในเรื่องการทรงตัวทำให้ลดความเสี่ยงในการหกล้มได้ อย่างไรก็ตามการที่จะออกกำลังอะไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับผู้ป่วยและควรมีคนดูแลขณะออกกำลังกายด้วยคะ

หากเราสงสัยหรือมีอาการคล้ายเป็นโรคพาร์กินสันควรปรึกษาแพทย์เสียแต่เนิ่นๆ เนื่องจากปัจจุบันวิวัฒนาการที่ทันสมัยและวิธีการรักษาที่หลากหลาย จะได้ช่วยผู้ป่วยไม่ให้มีอาการที่รุนแรงขึ้น ช่วยชะลอการดำเนินไปของโรค ทำให้ผู้ป่วยเองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ถึงแม้ว่าโรคนี้จะยังไม่มีวิธีรักษาให้หายได้ การดูแลอย่างเอาใจใส่และการคอยให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่มีความสุขได้คะ

ข้อมูลอ้างอิง
โรคพาร์กินสันรู้เร็วเพื่อคุณภาพชิวิตที่ดีกว่า : bumrungrad.com
โรคพาร์กินสัน: chulapd.org
การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด : academic.hcu.ac.th
ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วย: การออกกำลังกาย : parkinsondoctor.org

Previous articleกว่าจะมาเป็น สมุนไพรจีน สารพัดประโยชน์ มากสรรพคุณ
Next articleการเลือกซื้ออาหารเสริม วิธีเลือกซื้ออย่างชาญฉลาด