3 แนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษาช่วยพัฒนาการศึกษาไทย

0
756

การพัฒนาระบบการศึกษาให้ก้าวไกล ทันโลก และเหมาะสมกับเด็กรุ่นใหม่ที่มีความแตกต่างจากผู้สอนนั้น การมีแนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษานั้นจะช่วยให้การปรับตัวท่ามกลางความแตกต่างเหล่านี้มีประสิทธิภาพ มีการเรียนการสอนที่เข้าใจทั้งผู้เรียนและผู้สอน อีกทั้งยังช่วยพัฒนาระบบการศึกษาให้เหมาะกับผู้เรียนเพื่อให้ได้เรียนรู้สนุกและนำความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยทั่วไปแล้ว ผู้สอนหลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินมาไม่มากก็น้อยว่าแนวคิดพื้นฐานเหล่านี้จะต้องพิจารณาจากผู้เรียนเป็นหลัก

แนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษา

แต่ในวันนี้ เราอยากจะขอเสนออีก 3 แนวคิดเพิ่มเติมที่จะช่วยให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสำหรับผู้เรียนและผู้สอนไปในเวลาเดียวกัน ถ้าพร้อมแล้วมาดูไปพร้อมกันเลย

วางแผนการสร้างนวัตกรรมผ่านจิตวิทยาพื้นฐานที่เข้าใจทั้งผู้สอนและผู้เรียน

เพราะ ความเข้าใจซึ่งกันและกันจะช่วยให้การสื่อสารในทุก ๆ ด้านดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ดังนั้น แนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษาแบบแรกที่จะช่วยขับเคลื่อนการศึกษาได้นั้น คือ การสร้างความเข้าใจในอัตลักษณ์หรือลักษณะของผู้เรียนเพื่อวางแผนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างเช่น 

ผู้สอนหลายคนอาจมองว่าต้องขู่หรือดุไว้ก่อน ผู้เรียนจึงจะเชื่อฟังและตั้งใจเรียน แต่การทำเช่นนี้ ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่ให้ประสิทธิภาพในการเรียนการสอนที่ควร เพราะกลายเป็นว่าผู้สอนจะเป็นคนวางกรอบให้ผู้เรียน และ กดให้ผู้เรียนรับฟังคำสั่งตลอด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การเรียนการสอนควรจะเน้นไปที่การช่วยให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกและมีเหตุผลในความคิดของตัวเองมากกว่า

ลองคิดดูง่าย ๆ หากผู้สอนต้องไปเรียนในคลาสที่มีคนที่คอยกดดันหรือดุด่าตลอดเวลา การเรียนการสอนก็จะน่าเบื่อและทำให้ไม่อยากเรียน เพราะรู้สึกว่าจะทำอะไรก็โดนก่นด่าตลอด ดังนั้น หากลองคิดภาพตามง่าย ๆ ก็จะช่วยให้เห็นภาพและเข้าใจผู้อื่นแบบ “ใจเขาใจเรา” และช่วยก่อให้เกิดแนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษาในเรื่องของการวางแผนการสอนที่เหมาะและเข้าใจผู้เรียน ดังนั้น ก่อนจะวางแผนการสอนทุกครั้ง อย่าลืมลองสังเกตผู้เรียนรอบตัวก่อน และลองประยุกต์ใช้กับแผนการสอนดู

ปรับใช้เทคนิคการสอนที่อ้างอิงจากความแตกต่างของผู้เรียน

เพราะ ทุกคนมีความคิดของตัวเอง จึงยากที่จะปฏิเสธว่า ทุกคนล้วนย่อมมีความแตกต่างกัน ซึ่งการจะสร้างนวัตกรรมการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น แนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษาที่จะช่วยลดความแตกต่างและสร้างประสิทธิภาพในการเรียนการสอนนั้น คือ การศึกษาความแตกต่างของผู้เรียนทุกคน จากนั้นวางแผนการสอนที่สอดคล้องกับความแตกต่างนั้น ๆ

ตัวอย่างเช่น

ผู้เรียนในคลาสบางคนอาจมาจากครอบครัวที่มีฐานะไม่เท่ากันจึงทำให้การเรียนพิเศษหรือการค้นหาความรู้เพิ่มเติมเป็นไปได้ยาก ดังนั้น ผู้สอนจะต้องวางแผนแล้วว่า หากต้องการให้นวัตกรรมการศึกษาตรงนี้มาช่วยตอบโจทย์ความเหลื่อมล้ำทางฐานะ นวัตกรรมการศึกษาควรจะไปในทิศทางใดถึงจะช่วยให้ผู้ที่มีฐานะต่างกันได้เข้าถึงการศึกษาและความรู้ที่ใกล้กัน

พัฒนาการนวัตกรรมด้วยการเข้าใจเรื่อง “เวลา”

จริงอยู่ที่ว่า ยิ่งเรียนรู้มากก็ยิ่งช่วยเพิ่มความฉลาดและความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ รอบตัวได้มากขึ้น แต่หากการเรียนรู้ที่แน่นและนานเกินไป นอกจากจะลดความสนใจของผู้เรียนลงไปแล้ว การเรียนที่ใช้เวลามากเกินไปยังทำให้เกิดภาวะสมองล้า และทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลง เมื่อเป็นเช่นนี้ หลายคนก็อาจมองว่า ถ้ามีเวลาจำกัดก็ต้องอัดให้ได้มากที่สุด แต่ความจริงนั้น การทำเช่นนี้ก็ไม่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เช่นกัน เพราะการอัดความรู้อย่างต่อเนื่องก็จะทำให้รู้สึกว่ารับไม่ไหว ดังนั้น แนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษาที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนและผู้ออกแบบนวัตกรรมต้องคำนึงถึง ปริมาณเนื้อหาและวิธีการบรรยายที่สอดคล้องกับ “เวลา” ซึ่งการปรับหลักสูตร หรือการนำสิ่งรอบตัวมาปรับใช้ในการเรียนรู้ (Localization) จะมีส่วนช่วยสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Previous articleรวมฮิตที่เที่ยวในพัทยา เที่ยวยังไงให้สัมผัสธรรมชาติ
Next articleสิ่งสำคัญที่ต้องจำเมื่อไปเที่ยววันหยุดนักขี่มอเตอร์ไซค์