จาระบี หน้าที่หลักในการหล่อลื่นจุดเสียดสี เป็นสารหล่อลื่นสำคัญ

0
1397

จาระบี จะทำหน้าที่หลักในการหล่อลื่นจุดเสียดสีต่างๆ ที่ไม่สามารถจะใช้น้ำมันหล่อลื่นปกติได้ เช่น จุดเชื่อมต่อช่วงล่าง ลูกปืน ลูกหมาก ปีกนก ชุดเพลาขับเคลื่อน จาระบีจะช่วยเกาะจับชิ้นส่วนที่สัมผัสได้ดี ทำงานได้ทั้งอุณหภูมิต่ำและสูง ทนแรงเสียดสีได้ดี

จาระบี

จาระบี เป็นสารหล่อลี่นสภาพกึ่งแข็งกึ่งเหลว  สัดส่วนของส่วนผสมของจาระบีจะอยู่ที่ น้ำมันพื้นฐาน 60-80 % สารทำให้ข้น 2-30 % และสารเติมแต่ง 0-10 %

1. น้ำมันพื้นฐาน (Base Oil) ซึ่งจะมีน้ำมันแร่ กับน้ำมันสังเคราะห์ โดยทางสถาบันปิโตเลียมแห่งอเมริกา (API) ได้จำแนกน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานออกเป็น 5 กลุ่ม ตามกระบวนการและคุณสมบัติที่ต่างกัน คือ GROUP I, GROUP II, GROUP III, GROUP IV  และ GROUP V โดย GROUP I-III จัดเป็นน้ำมันแร่ ส่วน GROUP IV-V ตือน้ำมันสังเคราะห์ จาระบีส่วนมากจำใช้น้ำมันแร่ใน GROUP I-II ส่วนน้ำมันสังเคราะห์ก็พอมีใช้บ้าง ในกรณีที่ต้องการใช้งานที่อุณหภูมิสูง หรือต่ำมากๆ งานที่มีรอบความเร็วจัดมากๆ หรือสถาวะงานที่หนักสุดๆ เป็นต้น

2. สารเพิ่มความข้น เป็นการสร้างโครงสร้างให้กับจาระบี ให้มีความแข็ง-อ่อน มีโครงสร้างวัสดุเป็นเส้นใย 3 มิติ รวมทั้งยังมีคุณสมบัติในเรื่องการทนต่อความร้อน ทนต่อการชะล้างของน้ำ ความสามารถในการรับโหลดได้ ซึ่งสารเพิ่มความข้นมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ

  • ประเภทสบู่ เช่น ลิเธียม อลูมิเนียม โซเดียม และ แคลเซียม
  • ประเภทไม่ใช่สบู่ เช่น โพลียูเรีย ไดยูเรีย แคลเซียมซัลโฟเนต เทฟลอน เป็นต้น

ความอ่อน-แข็ง จะขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ของสารเพิ่มความข้นและความหนืดของน้ำมันพื้นฐาน วัดโดยการปล่อยให้เครื่องมือรูปกรวยปลายแหลมจมลงในเนื้อจาระบีที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส นาน 5 วินาที และวัดความลึกเป็น 1/10 ของ มิลลิเมตร ถ้ากรวยจมลงดึกมากก็แสดงว่าจาระบีอ่อนมาก จาระบีจะมีเบอร์กำกับจากสถาบันจาระบีประเทศสหรัฐอเมริการ หรือ National Lubricating Grease Institute หรือชื่อย่อ NLGI เบอร์ของจาระบีจะเป็นตัวกำหนดว่าจาระบีที่มีสภาพแข็งขึ้นหากเบอร์สูงขึ้น ส่วนระยะจมนั้นแสดงถึงความลึกของกรวยที่จมลงในจาระบี ถ้าระยะจมมาก แสดงว่าจาระบีมีสภาพนิ่ม

จาระบีจะถูกกำหนดค่าความเหนียวข้นโดยสถาบันจาระบีหล่อลื่นแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือNational Lubricating Grease Institute ชื่อย่อ NLGI ด้วยการกำหนดเป็นค่า NLGI Consistency Number หรือ NLGI Class แบ่งได้ 9 Class  เริ่มตั้ง 000, 00, 0, 1, 2, 3, 4, 5 และ 6  ยิ่งตัวเลขคลาสสูงมากขึ้น จาระบีจะมีลักษณะที่เนื้อแข็ง และมีค่าการจมลึกต่ำ ในทางตรงข้าม หากมีตัวเลขคลาสต่ำ จาระบีจะมีความเหนียวข้นน้อยจนสามารถเป็นของเหลวได้ (Fluid) และจะมีค่าจมลึกที่สูง เช่น 475 เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วรถยนต์มักจะใช้จาระบีคลาส NLGI Class 2 มีค่าการจมลึกที่ 265-295 มีความเหนียวข้นแบบธรรมดา นิยมนำมาใช้มากที่สุด ในขณะที่Class 3 จะเหมาะสำหรับงานความเร็วรอบสูงและมีอุณหภูมิต่ำ

3. สารเพิ่มคุณภาพ เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่สามารถสร้างความเสียหายต่อเครื่องยนต์ จึงได้มีการเพิ่มสารแต่งเติมลงไป ซึ่งมีด้วยกัน 2 กลุ่มหลัก

  • สารเพิ่มคุณภาพที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อตัวจาระบีหล่อลื่นเอง เช่น สารต้านการเสื่อมสภาพ (Antioxidants)
  • สารเพิ่มคุณภาพที่ปกป้องผิวโลหะหรือวัสดุ เช่น สารป้องกันการสึกหรอ, สารรับแรงกด กระแทก, สารลดแรงเสียดทาน, สารป้องกันการกัดกร่อน, สารป้องกันการเกิดสนิม เป็นต้น

นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึง จุดหยด (Drop Point) คืออุณหภูมิที่จาระบีหมดความคงตัว กลายเป็นของเหลวจนไหลออกมา ซึ่งจุดหยดเป็นสิ่งที่บอกถึงอุณหภูมิที่จาระบีทนได้ โดยทั่วไปแล้วจุดหยดจะต่ำกว่าอุณหภูมิใช้งานประมาณ 40-62 องศาเซลเซียส หากคุณต้องการใช้จาระบีในที่มีอุณหภูมิสูงเรื่องจุดหยดนั้นสำคัญมาก

วันนี้รู้จักจาระบีมากขึ้นกันแล้วใช่ไหม คราวหน้าจะมีสาระน่ารู้อะไรมาฝากกันอีกต้องติดตาม

Previous articleทำประกันรถยนต์ออนไลน์กับโบรกเกอร์มีดีอะไร?
Next articleผักปลอดสารพิษ ทำความรู้จักและเข้าใจ ปลูกง่ายกว่าที่คิด